top of page

Our Studio

Rangsi Atelier_gray.jpg

RANGSI ATELIER is a happy multidisciplinary professional services consultant for well-being. We are professional lighting architects, perception science, art & psychology consultant also business development consultant based in Bangkok, Kingdom of Thailand. The studio is headed by Pilasinee Rattarangsi.

The name Rangsi based on founder's family name which is an honourary awarded surname by King Vijiravudh (Rama VI) of Siam. In Thai, Ratta means Night and Rangsi  means Ray of Light.

 

The Light in the Darkness, we are.
 

SERVICES 

  • Architectural lighting design

  • Lighting consultant for well-being

  • Business development strategies 

  • Design Peer review and lighting improvement

  • Lighting aiming and commissioning

  • Decorative lighting design

  • Architectural light fitting development 

  • Green building and sustainable design strategies

  • Basic lighting design training / lecture for private design practice and university

     

 

PHILOSOPHY

Our philosophy is to offer full attention, exclusive lighting design and specialist consultant service to our exclusive clients. Therefore, we have no intention to accept as much as possible projects but rather focus on our 'team up clients' with harmonised working atmosphere for the best composition of aesthetics, sustainable and well-being outcome.
 

 


WHAT IS WELL-BEING
Source : www.linkedin.com/pulse/difference-between-wellness-wellbeing-jim-purcell
(quoted)

Wellness; Our society and our medical community have generally viewed health through the lens of physical health rather than mental and emotional health and defined good health mostly by the absence of illness or disability. 
 

Well-being, on the other hand, embraces more than just physical health. It takes into account the entire person, both body and mind, and not merely by the “absence of illness.” Its approach to “health” includes the presence of positive mental states, emotions, and moods.


In its simplest terms, well-being can be described as a state of good health, happiness, fulfillment, and purpose, judging one’s life positively and feeling engaged.


According to the Centers for Disease Control & Prevention, well-being centers on judging one’s life positively and feeling good. “Well-being integrates mental health (mind) and physical health (body) resulting in more holistic approaches to disease prevention and health promotion.”

(unquoted)

 

But not only human is taking into account but lives and planet. Whatever we do, it effects other lives too. So from selecting the light bulb until the end of the way; waste management are our concerns. Our atelier are seriously and happily focusing on sustainability and well-being :)
 

 

 



WHAT IS IT REALLY? YOUR 'LIGHTING DESIGN'


“มักจะมีคนมาถามว่า จริงๆแล้วงานของเราคืออะไรกันนะ  เจ้างานที่เรียกว่า lighting design นี่น่ะ

โดยส่วนตัว  ในความหมายของเรา  เราอยากจะเรียกมันว่า “จิตวิทยา ศิลปะ และ วิทยาศาสตร์ แห่งการรับรู้ (perception)และการมองเห็น”

การรับรู้ (Perception) มีทั้ง Visual และ Non-visual perception
การมองเห็นเป็นส่วนหนึ่งของการรับรู้ั

แต่การมองเห็น คือ 90% ของข้อมูลที่เราได้รับในแต่ละวันเลยทีเดียว




ถ้าจะเพิ่มรายละเอียดด้วยก็ต้องไม่ลืมว่า เมื่อมีแสง ก็มีเงา ดังนั้นการวางแผนออกแบบเงา ก็คือสิ่งที่มักไม่ได้พูดถึง เพราะมันคืออันหนึ่งอันเดียวกันกับแสงด้วย


มันคือจิตวิทยา  มันคือศิลปะ  และ มันคือวิทยาศาสตร์ ในเวลาเดียวกัน :)



เมื่อเราอยู่กับงานด้านแสงมากว่า 18 ปีแล้ว  เราพบว่า คนส่วนใหญ่ มักเชื่อในตัวเลขของค่าที่แสดงจากเครื่องวัดแสง ซึ่งมันก็จะใช้อ้างอิงได้เป็นพื้นฐาน แต่ก็ไม่ใช่คำตอบทั้งหมด


แสงทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ และจุดที่สำคัญ  คือ  หลังจากที่แต่ละคนรับภาพผ่านจอตาแล้วต่างหาก


รับแล้วแปรข้อมูลผ่านสมอง  จิตใจเราก็ปรุงแต่งกันไป  โดยใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาเพื่อประมวลผล 
เพราะอย่างนั้นแต่ละคนจึงมีความเห็นเรื่องแสงไม่เหมือนกัน หรือจะเรียกว่า very subjective ก็ได้ บ้างก็ว่าสว่างไป มืดไป เหลืองไป ขาวไป ในที่ที่เดียวกัน อะไรอย่างนั้น 

มันขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และสภาพทางกายภาพลูกนัยน์ตาของแต่ละคน  เช่น ผู้สูงอายุต้องการแสงสว่างที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับวัยทำงาน  เด็กทารกไม่ควรกระทบแสงที่จ้าเกินไป

นอกจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและประสบการณ์ของแต่ละบุคคลด้วยเหมือนกัน เช่น  ชาวตะวันตกคุ้นเคยกับแสงสีโทนอุ่นมากกว่า เมื่อเทียบกับชาวเอเชีย ที่โตมากับหลอดฟลูโอเรสเซนต์ (ที่บ้านเรามักเรียกว่า หลอดนีออน) สีขาวไปทางอมฟ้า 



ที่สำคัญ อย่าได้ลืมความเป็นจริงเรื่องการใช้งาน และ technology ด้วย หากมุ่งเน้นเพียงความสวยงาม  แต่บกพร่องในการใช้งานจริง  ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นผลงานที่เหมาะสม
มันคือการก้าวไปข้างหน้าอย่างฉลาดและรอบคอบ ตอบโจทย์ในทุกมิติเท่าที่จะเป็นไปได้ในเงื่อนไขที่มี


ทุกอย่างมีดีมีเสีย  ในเสียมีดี ในดีก็มีเสีย


แสงมีผลในทุกเวลาของชีวิตและก็ไม่ใช่แค่มนุษย์  แต่รวมไปถึงสัตว์โลก  พืชพันธุ์ต่างๆ ด้วย  เพราะทุกอย่างล้วนเกี่ยวเนื่องกัน  แสงมีผลทุกมิติ ทั้งด้านวัฒนธรรม ความ เป็น – อยู่ กายภาพระดับเซลล์และฮอร์โมน รวมไปถึงสภาวะจิตใจด้วย บางครั้งแสงที่อยู่ไม่ถูกที่ถูกทาง ก็ทำให้เต่าไม่มาออกไข่  ทำให้เสี่ยงสูญพันธุ์ ตารางเวลาหากินของสัตว์หากินกลางคืนเกิดการรวน  นกบางประเภทก็อพยพถิ่นฐานผิดทิศทาง  ก่อให้เกิดการตายนับหมื่นต่อปี ขนาดนิวยอร์คยังขอความร่วมมือให้ดับไฟภายนอกอาคารบางช่วง เพื่อให้นกอพยพได้ตามธรรมชาติเลย   


มนุษย์ก็เช่นกัน  เรากำลังเผชิญหน้ากับปริมาณแสงสีฟ้าที่มากเกินธรรมชาติ  มีบทวิจัยยืนยันว่า ระยะเวลาที่เราอาบด้วยแสงสีฟ้ามากขึ้น ทำให้โรคซึมเศร้า และ ปัญหาการนอนหลับมากขึ้นตามไปด้วย  เราอยู่กับหน้าจอเกือบตลอดเวลา   กับแสงขาว daylighting จากไฟถนนที่คิดกันว่าสว่างดี (แต่มันมีสิ่งที่อันตรายซ่อนอยู่ด้วยเหมือนกัน)


วิธีดูแลตัวเองคือกลับสู่ความเป็นธรรมชาติ  มนุษย์ก็เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง  ดังนั้นเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น  เซลล์ร่างกายเราถูกปลุกให้ตื่น  และพอพระอาทิตย์ตก ฮอร์โมนของเราก็หลั่งออกเพื่อให้เข้านอนนั่นเอง


แสงสามารถทำให้คนดื่มเครื่องดื่มแต่ละประเภทได้รสชาติไม่เหมือนกัน  วิสกี้ ไวน์ น้ำผลไม้  เมื่ออยู่ภายใต้แสงที่ไม่เหมือนกัน ก็ทำให้เกิดความรู้สึกไม่เหมือนกัน  แสงสามารถกระตุ้นให้คนเล่นการพนันในคาสิโนมากขึ้น  แสงทำให้พนักงานออฟฟิศกระตือรือล้นทำงาน เพิ่ม productivity แสงสามารถผ่อนคลายความเครียดได้  แสงสามารถทำให้คนลดน้ำหนักได้ แสงทำให้ต้นไม้โตพรวดพราด  แสงทำให้คน shopping ในห้างได้ทั้งวันจนลืมเวลา และอื่นๆอีกมาก




แสงก็คือ ชีวิต นั่นเอง


 

การมองเห็นเป็นแค่หนึ่งในสัมผัสทั้งหมด 
เมื่อเห็น ก็ปรุงถึงกลิ่น  ถึงความรู้สึกได้  
เมื่อเห็น  ได้ยิน ได้กลิ่น และสัมผัส  ก็ปรุงความรู้สึกต่างๆออกไปได้อีก


ผู้ออกแบบทุกคน จึงเป็นส่วนหนึ่งในงานของกันและกัน
งานของเรา จึงเป็นส่วนผสมอันหนึ่งอันเดียวกันกับทุกสิ่งนั่นเอง"
 


รังสี อะทีเลียร์
มิถุนายน ๒๕๖๔

bottom of page